ประวัติแสตมป์ไทย
สมัย ๑๐๐ กว่าปีก่อน การสื่อสารเป็นไปอย่างลำบากยิ่งนัก การจะฝากข่าวไปยังต่างเมืองทำได้ยาก โดยมากมักจะเป็นการฝากข่าวผ่านคน แต่เมื่อประเทศเราเปิดประเทศ มีการติดต่อการค้ากับต่างชาติมากขึ้น จึงได้เริ่มมีการเปิดสถานกงสุล ตอนนั้นหากไทยต้องการติดต่อไปยังต่างประเทศจะฝากจดหมายหรือเอกสารผ่านสถานกงสุลอังกฤษโดยใช้ตราไปรษณีย์ พิมพ์อักษรคำว่า “ B “ ลงบนตราไปรษณียากรนั้น แทนคำว่า “ BANGKOK “ ผนึกทับบนจดหมาย
ในปี พ.ศ.๒๔๒๓ เจ้าหมื่นเสมอใจราช ได้ทำหนังสือกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอให้พระองค์ทรงจัดตั้งการไปรษณีย์ขึ้น ทรงดำริเห็นชอบและจึงทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุ รังษีสว่างวงศ์ ทรงเตรียมจัดตั้งการไปรษณีย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๒๔ จนถึง วันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๖ ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งกรมไปรษณีย์และโทรเลขขึ้น
ในการนี้ทรงได้สั่งพิมพ์ตราไปรษณียากร จาก บริษัท Waterlow and Sons London มาเพื่อเตรียมใช้งาน ๖ ชนิดราคา คือ โสฬส (ครึ่งอัฐ)อัฐ เสี้ยว(สองอัฐ) ซีก (สี่อัฐ)เฟื้อง(แปดอัฐ) สลึง (สิบหกอัฐ) โดยเรียกแสตมป์ชุดนี้ว่า “ ชุดโสฬศ “ ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๔๒๖
ข้อมูลจาก http://www.lib.ru.ac.thและhttp://th.wikipedia.org/